วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

สารกันเสียในเครื่องสำอางค์




สารกันเสีย (Preservative)

      สารกันเสีย (Preservative) เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อยีสต์ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องสำอางเสียง่าย เช่นการเติมในครีมทาผิวเพราะมีการแต่งกลิ่นและอาจใช้แป้งเป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดการบูดเสียได้ จึงต้องใส่สารกันเสียป้องกัน
      สารกันเสียที่ใช้สำหรับเครื่องสำอางมีหลายชนิด เช่น Bronopol (2-bromo-2-nitropropane-1,3-diol หรือ BNPD) ฟอร์มาดีไฮด์ (formaldehyde) อิมิดาโซลิดินิลยูเรีย (imidazolidinyl urea) เมทิลคลอโรไอโซไทอะโซลิโนน (methylisothiazolinone) และ ฟีโนซีเอทานอล  (phenoxyethanol) EDTA (ethylene diamine tetreacetic acid) และสารกลุ่มพาราเบน (paraben) ได้แก่ เมทิลพาราเบน (methyl paraben) เอทิลพาราเบน (ethyl paraben) โพรพิลพาราเบน (propyl paraben) และ บิวทิลพาราเบน (butyl paraben)

สารกลุ่มพาราเบน

      พาราเบนที่นิยมใช้มี 3 ชนิด ได้แก่ เมทิลพาราเบน เอทิลพาราเบน และ โพรพิลพาราเบน ซึ่งมีชื่อสารเคมี ชื่อพ้อง สูตรโครงสร้างทางเคมี ดังนี้

ชื่อสารเคมี ชื่อพ้อง สูตรโครงสร้างทางเคมี
..........
ชื่อสารเคมี
เมทิลพาราเบน
เอทิลพาราเบน
โพรพิลพาราเบน
ชื่อพ้อง
Methylparahydroxy
benzoate
4-hydroxybenzoic acid methyl ester
Ethylparahydroxy
benzoate
4-hydroxybenzoic acid ethyl ester
Propylparahydroxy
benzoate
4-hydroxybenzoic acid propyl ester
สูตรโมเลกุล
C 8 H 8 O 3
C 9 H 10 O 3
C 10 H 12 O 3
สูตรโครงสร้างทางเคม


ลักษณะภายนอก
ผงผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ผงผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ผงผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
น้ำหนักโมเลกุล
152.14
166.17
180.2
จุดหลอมเหลว ( องศาเซลเซียส )
131
116

จุดเดือด ( องศาเซลเซียส )
270-280
297-298
96.2 - 98
การละลาย
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ อะซีโตน อีเทอร์
ละลายได้น้อยในน้ำ (1 ส่วนในน้ำ 400 ส่วน หรือ 0.30% w/w ที่ 25 ? C)
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ อะซีโตน อีเทอร์
ละลายได้น้อยในน้ำ (0.075% w/w ที่ 25 ? C)
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ อะซีโตน อีเทอร์
ละลายได้น้อยในน้ำ (1 ส่วนในน้ำ 2000 ส่วน )

กลไกการออกฤทธิ์

พาราเบนเป็นสารเอสเทอร์ของกรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก (para-hydroxybenzoic acid)
ออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพแบบการยับยั้งเซลล์ (cytostatic activity) มากกว่าฆ่าเซลล์ (cytocidal activity)  เมื่อใช้เดี่ยวๆ ออกฤทธิ์ต้านเชื้อราได้ดีมาก แต่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้จำกัด และเมื่อใช้ร่วมกัน เช่น เมทิลพาราเบนร่วมกับโพรพิลพาราเบน จะออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดีขึ้น โดยออกฤทธิ์ต่อเชื้อแกรมบวกดีกว่าแกรมลบ ฤทธิ์การต้านเชื้อจะมีประสิทธิภาพดีที่ความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 3-8 ที่ความเป็นด่างมากกว่า 8 สารกลุ่มนี้ถูกไฮโดรไลซีสและหมดประสิทธิภาพการเป็นสารกันเสีย
เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านจุลชีพจากมากไปน้อยเป็นดังนี้ โพรพิลพาราเบน > เอทิลพาราเบน > เมทิลพาราเบน โดยจากสูตรโครงสร้างโพรพิลพาราเบนมีสายคาร์บอนที่ยาวที่สุด จึงแพร่เข้าเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อจุลชีพได้ดีกว่า จึงออกฤทธิ์ดีกว่าพาราเบนอื่นๆ
ประโยชน์

สารกลุ่มพาราเบน เป็นสารกันเสียที่ราคาไม่แพงและที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขเมื่อใส่ในปริมาณที่กำหนด นิยมใช้กับเครื่องสำอางประเภท แชมพู ครีมนวดผม ครีมบำรุงผิวหน้า ครีมทำความสะอาด ครีมสำหรับเล็บ น้ำยาดัดผมถาวร และ ยาสีฟัน
ปริมาณพาราเบนที่กำหนดไว้ได้แก่

1. เมทิลพาราเบน (methyl paraben) ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนัก
2. โพรพิลพาราเบน (propyl paraben) ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนัก
3. เมทิลพาราเบน รวมกับโพรพิลพาราเบน ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนัก
อาการแสดงและการวินิจฉัย

กลุ่มศึกษาอาการผืนสัมผัสของอเมริกาเหนือ (North American Contact Dermatitis group) รายงานผลการศึกษาสารในเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ว่า สารกันเสียเป็นสารที่ทำให้ผู้ใช้เกิดการแพ้ ผื่นแพ้และระคายเคือง (allergy irritation) เป็นอันดับที่สองรองจากน้ำหอมหรือสารแต่งกลิ่นหอม (fragrances) ซึ่งสารกันเสียที่พบการแพ้ได้บ่อยได้แก่ พาราเบน ฟอร์มาลดีไฮด์ อิมิดาโซลิดินิลยูเรีย เมทิลคลอโรไอโซไทอะโซลิโนน และ ฟีโนซีเอทานอล
ผื่นจากเครื่องสำอาง อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis) ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis) ผื่นลมพิษสัมผัส (Contact urticaria) และสิวจากเครื่องสำอาง (Acne cosmetica) ที่พบบ่อยคือ ผื่นแพ้สัมผัสและผื่นระคายสัมผัส
การวินิจฉัย แพทย์ผิวหนังจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นการระคายเคืองหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการทดสอบภูมิแพ้ โดยการปิดบนผิวหนัง (patch test) แล้วดูว่าเป็นการแพ้หรือไม่เสียก่อน เนื่องจากยังไม่มีการทดสอบการระคายเคืองทางตรง
ข้อควรระวัง

สารกลุ่มพาราเบน เป็นสารที่ค่อนข้างปลอดภัย และไม่พบการก่อให้เกิดพิษอันตราย อย่างไรก็ตามวารสารทางวิทยาศาสตร์รายงานผลการศึกษาในสัตว์ทดลองว่า เมื่อให้พาราเบนแก่หนูด้วยการรับประทาน พาราเบนจะออกฤทธิ์เลียนแบบ (mimic) ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง โดยกลไกการออกฤทธิ์พบว่าพาราเบนจะถูกเมแทบอไลส์ด้วยปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสโดยเอนไซม์เอสเทอร์เรส (esterase enzyme) ทำให้สูญเสียหมู่เอสเทอร์ ได้สารเมแทบอไลส์คือ กรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก ที่สามารถจับกับ estrogen receptor ในร่างกาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานว่าพาราเบนก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมในสตรี และมีบางการศึกษารายงานว่าการใช้เครื่องสำอางประเภทที่ใช้บริเวณผิวหนัง เช่น สเปรย์ฉีดร่างกาย หรือยาระงับกลิ่นกายที่มีพาราเบน พบว่าพาราเบนดูดซึมผ่านผิวหนังต่ำมาก และถูกเมแทบอไลส์ด้วยเซลล์ที่ผิวหนังได้สารที่ไม่มีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน
แม้ว่ายังมีรายงานที่ขัดแย้งกัน การใช้เครื่องสำอางที่มีพาราเบน ควรใช้อย่างระมัดระวัง เมื่อผู้ใช้เกิดผื่นแพ้ ควรหยุดการใช้เครื่องสำอางนั้นๆ ทันที และสังเกตว่าผื่นค่อยๆ หายไปหรือไม่ 

การเก็บรักษา

เอกสารอ้างอิง

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535

      Journal of Applied Toxicology vol 24, p. 5 available on http://www.organicconsumers.org./Journalreference
      อารทรา ปัญญาปฏิภาณ ฟอร์มาลดีไฮด์ในเครื่องสำอางข่าวสารด้านยาและสุขภาพ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 หน้า 14-18
      U. S. Food and Drug Administration FDA Consumer November 1991; revised May 1995
http://www.cfsan.fda.gov/~dms/cos-safe.html
      M.G. Soni, I.G. Carabin and G.A. Burdock  Safety assessment of esters of p-hydroxybenzoic acid (parabens)  Food and Chemical Toxicology, Volume 43, Issue 7, July 2005, Pages 985-1015
      K. Morohoshi, H. Yamamoto, R. Kamata, F. Shiraishi, T. Koda and M. Morita Estrogenic activity of 37 components of commercial sunscreen lotions evaluated by in vitro assays.
Toxicology in Vitro, Volume 19, Issue 4, June 2005, Pages 457-469
      นพ.ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์ ผื่นจากเครื่องสำอาง http://www.thaicosderm.org/public-info/cosmetic.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Share |