วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

สารกันเสียในเครื่องสำอางค์




สารกันเสีย (Preservative)

      สารกันเสีย (Preservative) เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อยีสต์ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องสำอางเสียง่าย เช่นการเติมในครีมทาผิวเพราะมีการแต่งกลิ่นและอาจใช้แป้งเป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดการบูดเสียได้ จึงต้องใส่สารกันเสียป้องกัน
      สารกันเสียที่ใช้สำหรับเครื่องสำอางมีหลายชนิด เช่น Bronopol (2-bromo-2-nitropropane-1,3-diol หรือ BNPD) ฟอร์มาดีไฮด์ (formaldehyde) อิมิดาโซลิดินิลยูเรีย (imidazolidinyl urea) เมทิลคลอโรไอโซไทอะโซลิโนน (methylisothiazolinone) และ ฟีโนซีเอทานอล  (phenoxyethanol) EDTA (ethylene diamine tetreacetic acid) และสารกลุ่มพาราเบน (paraben) ได้แก่ เมทิลพาราเบน (methyl paraben) เอทิลพาราเบน (ethyl paraben) โพรพิลพาราเบน (propyl paraben) และ บิวทิลพาราเบน (butyl paraben)

สารกลุ่มพาราเบน

      พาราเบนที่นิยมใช้มี 3 ชนิด ได้แก่ เมทิลพาราเบน เอทิลพาราเบน และ โพรพิลพาราเบน ซึ่งมีชื่อสารเคมี ชื่อพ้อง สูตรโครงสร้างทางเคมี ดังนี้

ชื่อสารเคมี ชื่อพ้อง สูตรโครงสร้างทางเคมี
..........
ชื่อสารเคมี
เมทิลพาราเบน
เอทิลพาราเบน
โพรพิลพาราเบน
ชื่อพ้อง
Methylparahydroxy
benzoate
4-hydroxybenzoic acid methyl ester
Ethylparahydroxy
benzoate
4-hydroxybenzoic acid ethyl ester
Propylparahydroxy
benzoate
4-hydroxybenzoic acid propyl ester
สูตรโมเลกุล
C 8 H 8 O 3
C 9 H 10 O 3
C 10 H 12 O 3
สูตรโครงสร้างทางเคม


ลักษณะภายนอก
ผงผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ผงผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ผงผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
น้ำหนักโมเลกุล
152.14
166.17
180.2
จุดหลอมเหลว ( องศาเซลเซียส )
131
116

จุดเดือด ( องศาเซลเซียส )
270-280
297-298
96.2 - 98
การละลาย
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ อะซีโตน อีเทอร์
ละลายได้น้อยในน้ำ (1 ส่วนในน้ำ 400 ส่วน หรือ 0.30% w/w ที่ 25 ? C)
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ อะซีโตน อีเทอร์
ละลายได้น้อยในน้ำ (0.075% w/w ที่ 25 ? C)
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ อะซีโตน อีเทอร์
ละลายได้น้อยในน้ำ (1 ส่วนในน้ำ 2000 ส่วน )

กลไกการออกฤทธิ์

พาราเบนเป็นสารเอสเทอร์ของกรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก (para-hydroxybenzoic acid)
ออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพแบบการยับยั้งเซลล์ (cytostatic activity) มากกว่าฆ่าเซลล์ (cytocidal activity)  เมื่อใช้เดี่ยวๆ ออกฤทธิ์ต้านเชื้อราได้ดีมาก แต่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้จำกัด และเมื่อใช้ร่วมกัน เช่น เมทิลพาราเบนร่วมกับโพรพิลพาราเบน จะออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดีขึ้น โดยออกฤทธิ์ต่อเชื้อแกรมบวกดีกว่าแกรมลบ ฤทธิ์การต้านเชื้อจะมีประสิทธิภาพดีที่ความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 3-8 ที่ความเป็นด่างมากกว่า 8 สารกลุ่มนี้ถูกไฮโดรไลซีสและหมดประสิทธิภาพการเป็นสารกันเสีย
เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านจุลชีพจากมากไปน้อยเป็นดังนี้ โพรพิลพาราเบน > เอทิลพาราเบน > เมทิลพาราเบน โดยจากสูตรโครงสร้างโพรพิลพาราเบนมีสายคาร์บอนที่ยาวที่สุด จึงแพร่เข้าเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อจุลชีพได้ดีกว่า จึงออกฤทธิ์ดีกว่าพาราเบนอื่นๆ
ประโยชน์

สารกลุ่มพาราเบน เป็นสารกันเสียที่ราคาไม่แพงและที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขเมื่อใส่ในปริมาณที่กำหนด นิยมใช้กับเครื่องสำอางประเภท แชมพู ครีมนวดผม ครีมบำรุงผิวหน้า ครีมทำความสะอาด ครีมสำหรับเล็บ น้ำยาดัดผมถาวร และ ยาสีฟัน
ปริมาณพาราเบนที่กำหนดไว้ได้แก่

1. เมทิลพาราเบน (methyl paraben) ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนัก
2. โพรพิลพาราเบน (propyl paraben) ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนัก
3. เมทิลพาราเบน รวมกับโพรพิลพาราเบน ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนัก
อาการแสดงและการวินิจฉัย

กลุ่มศึกษาอาการผืนสัมผัสของอเมริกาเหนือ (North American Contact Dermatitis group) รายงานผลการศึกษาสารในเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ว่า สารกันเสียเป็นสารที่ทำให้ผู้ใช้เกิดการแพ้ ผื่นแพ้และระคายเคือง (allergy irritation) เป็นอันดับที่สองรองจากน้ำหอมหรือสารแต่งกลิ่นหอม (fragrances) ซึ่งสารกันเสียที่พบการแพ้ได้บ่อยได้แก่ พาราเบน ฟอร์มาลดีไฮด์ อิมิดาโซลิดินิลยูเรีย เมทิลคลอโรไอโซไทอะโซลิโนน และ ฟีโนซีเอทานอล
ผื่นจากเครื่องสำอาง อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis) ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis) ผื่นลมพิษสัมผัส (Contact urticaria) และสิวจากเครื่องสำอาง (Acne cosmetica) ที่พบบ่อยคือ ผื่นแพ้สัมผัสและผื่นระคายสัมผัส
การวินิจฉัย แพทย์ผิวหนังจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นการระคายเคืองหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการทดสอบภูมิแพ้ โดยการปิดบนผิวหนัง (patch test) แล้วดูว่าเป็นการแพ้หรือไม่เสียก่อน เนื่องจากยังไม่มีการทดสอบการระคายเคืองทางตรง
ข้อควรระวัง

สารกลุ่มพาราเบน เป็นสารที่ค่อนข้างปลอดภัย และไม่พบการก่อให้เกิดพิษอันตราย อย่างไรก็ตามวารสารทางวิทยาศาสตร์รายงานผลการศึกษาในสัตว์ทดลองว่า เมื่อให้พาราเบนแก่หนูด้วยการรับประทาน พาราเบนจะออกฤทธิ์เลียนแบบ (mimic) ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง โดยกลไกการออกฤทธิ์พบว่าพาราเบนจะถูกเมแทบอไลส์ด้วยปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสโดยเอนไซม์เอสเทอร์เรส (esterase enzyme) ทำให้สูญเสียหมู่เอสเทอร์ ได้สารเมแทบอไลส์คือ กรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก ที่สามารถจับกับ estrogen receptor ในร่างกาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานว่าพาราเบนก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมในสตรี และมีบางการศึกษารายงานว่าการใช้เครื่องสำอางประเภทที่ใช้บริเวณผิวหนัง เช่น สเปรย์ฉีดร่างกาย หรือยาระงับกลิ่นกายที่มีพาราเบน พบว่าพาราเบนดูดซึมผ่านผิวหนังต่ำมาก และถูกเมแทบอไลส์ด้วยเซลล์ที่ผิวหนังได้สารที่ไม่มีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน
แม้ว่ายังมีรายงานที่ขัดแย้งกัน การใช้เครื่องสำอางที่มีพาราเบน ควรใช้อย่างระมัดระวัง เมื่อผู้ใช้เกิดผื่นแพ้ ควรหยุดการใช้เครื่องสำอางนั้นๆ ทันที และสังเกตว่าผื่นค่อยๆ หายไปหรือไม่ 

การเก็บรักษา

เอกสารอ้างอิง

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535

      Journal of Applied Toxicology vol 24, p. 5 available on http://www.organicconsumers.org./Journalreference
      อารทรา ปัญญาปฏิภาณ ฟอร์มาลดีไฮด์ในเครื่องสำอางข่าวสารด้านยาและสุขภาพ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 หน้า 14-18
      U. S. Food and Drug Administration FDA Consumer November 1991; revised May 1995
http://www.cfsan.fda.gov/~dms/cos-safe.html
      M.G. Soni, I.G. Carabin and G.A. Burdock  Safety assessment of esters of p-hydroxybenzoic acid (parabens)  Food and Chemical Toxicology, Volume 43, Issue 7, July 2005, Pages 985-1015
      K. Morohoshi, H. Yamamoto, R. Kamata, F. Shiraishi, T. Koda and M. Morita Estrogenic activity of 37 components of commercial sunscreen lotions evaluated by in vitro assays.
Toxicology in Vitro, Volume 19, Issue 4, June 2005, Pages 457-469
      นพ.ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์ ผื่นจากเครื่องสำอาง http://www.thaicosderm.org/public-info/cosmetic.htm

AHAs และ BHAs


      ปัจจุบันมีการใช้เครื่องสำอางผสม Alpha - Hydroxy Acids หรือ เอ เอช เอ (AHAs) เช่น กรดกลัยคอลิค (glycolic acid) กรดแลคติค (lactic acid) และ Beta – Hydroxy  Acids หรือ บี เอช เอ (BHAs) เช่น กรดซาลิซิลิค (salicylic acids) อย่างแพร่หลาย ในขณะที่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ เอ เอช เอ ได้แก่ อาการระคายเคืองเล็กน้อย แสบผิว ผิวหนังร้อนแดง มีตุ่มพอง และไหม้

      AHAs [Alpha-Hydroxy Acids] และ BHAs [Beta-Hydroxy Acids] เป็นสารที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง แต่เนื่องจากสารทั้งสองกลุ่มนี้มิได้เป็นสารห้ามใช้ หรือสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม ดังนั้นเครื่องสำอางที่ผสมสารเหล่านี้และไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษหรือสารควบคุม จัดเป็นเครื่องสำอางทั่วไป มีวางจำหน่ายทั่วไปทั้งที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ

      AHAs เป็นกรดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ บางครั้งเรียก กรดผลไม้ (fruit acid) เนื่องจากที่มาของกรดนี้ คือ glycolic acid มาจากน้ำอ้อย  lactic acid มาจากนมเปรี้ยว  citric acid มาจากมะนาว สับประรด  pyruvic acid  มาจากมะละกอ  malic acid  มาจากแอปเปิ้ล tartaric acid มาจากเหล้าองุ่น สารสำคัญในกลุ่ม AHAs ที่พบในเครื่องสำอาง บนฉลากอาจระบุว่าประกอบด้วย

           glycolic acid
           lactic acid
           malic acid
           citric acid
           glycolic acid + ammonium glycolate
           alpha-hydroxyethanoic acid + ammonium alpha-hydroxyethanoate
           alpha-hydroxyoctanoic acid
           alpha-hydroxycaprylic acid
           hydroxycaprylic acid
           mixed fruit acid
           tri-alpha hydroxy fruit acids 
           triple fruit acid, sugar cane extract 
           alpha hydroxy and botanical complex 
           L-alpha hydroxy acid
           glycomer in crosslinked fatty acids alpha nutrium (three AHAs)

           สารในกลุ่ม AHAs ที่นิยมใช้ในเครื่องสำอาง คือ glycolic acid และ lactic acid


           BHAs ที่มีการกล่าวถึง คือ Salicylic acid ซึ่งใช้ในทางการแพทย์มานานแล้ว เป็นยาทาภายนอก  ใช้รักษาโรคผิวหนังที่มีลักษณะหนา แข็งกระด้าง เช่น Salicylic acid 6% + Benzoic acid 12% ใช้รักษาเชื้อราที่ผิวหนัง  Salicylic acid 10-12%, Salicylic acid 2-4% + Talcum ใช้โรยเท้าที่มีเหงื่ออกมาก ผิดปกติ      Salicylic acid ที่ใช้ในเครื่องสำอางนั้นใช้เพื่อเป็นสารระงับเชื้อในผลิตภัณฑ์  ทาผิวบริเวณที่แข็งกระด้าง เช่น ส้นเท้า/ข้อศอก ช่วยลดริ้วรอย จุดด่างดำได้บ้าง ให้ใช้ที่ความเข้มข้นไม่เกิน 2%

การโฆษณาสรรพคุณของเครื่องสำอางที่ผสม AHAs หรือ BHAs ที่ปรากฏทางสื่อต่างๆ เช่น

           o ทำให้ผิวเรียบ แลดูละเอียดมากขึ้น
           o ทำให้ผิวแลดูสดใสมากขึ้น
           o ทำให้ผิวแลดูเต่งตึงมากขึ้น
           o ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น
           o ช่วยให้สีผิวจางลง
           o ลดการอุดตันของรูขุมขน จึงใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับสิว 

กลไกการรักษา

      AHAs และ BHAs เป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นกรด จะช่วยให้ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออกไปได้เร็วขึ้น มองเห็นผิวที่อยู่ชั้นถัดไปที่ยังอยู่ในสภาพดี จึงแลดูผิวดีขึ้น AHAs เมื่อถูกทาลงบนผิวหนังจะถูกดูดซึมไปยังผิวหนังชั้นในสุด และไปทำลายแรงยึดเกาะระหว่างเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วในชั้น horny layer ทำให้เซลล์เหล่านี้ลอกหลุดง่ายขึ้น ซึ่งผลให้เซลล์ชั้นล่างลงไปขึ้นมาแทนที่ ทำให้ผิวหน้าเรียบเนียน สดใสกว่าเดิม เนื่องจากเซลล์ในชั้น hormy layer ที่เกาะติดกันแน่นและไม่หลุดลอกออกจะไปอุดตันรูขุมขน เป็นสาเหตุของการเกิดสิว AHAs จึงช่วยให้เกิดสิวลดลง

ความเป็นพิษ

      USFDA แจ้งว่าจากการศึกษา การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHAs เป็นองค์ประกอบอาจทำให้ผู้ใช้มีความไวต่อแสงแดดมากขึ้น โดยเฉพาะกับรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งอาจทำลายผิวหนัง และการใช้ยาขนาดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ระยะยาว อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ซึ่งทั้ง USFDA และ EU อยู่ในระหว่างติดตามความปลอดภัยของสารนี้ แต่ยังมิได้มีการประกาศใช้บังคับในเรื่องปริมาณ หรือความเข้มข้นของสารแต่อย่างใด

       USFDA  ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการใช้ AHAs ในเครื่องสำอางอย่างปลอดภัยนั้น ความเข้มข้นของ AHAs ต้องไม่เกิน 10 เปอร์เซนต์ และสูตรตำรับมีพีเอชมากกว่า หรือเท่ากับ 3.5 ส่วนผลิตภัณฑ์ในร้านเสริมสวยสำหรับการลอกหน้านั้น   ความเข้มข้นของ AHAs ต้องไม่เกิน 30 เปอร์เซนต์ และสูตรตำรับมีพีเอชมากกว่า หรือเท่ากับ 3.0 ซึ่งต้องใช้โดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว
อาการพิษ


      สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ติดตามข้อมูลความปลอดภัยของการใช้สารกลุ่มนี้ในเครื่องสำอาง เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์ได้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และพบว่า USFDA ได้รับรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ AHAs 100 ราย มีอาการตั้งแต่ระคายเคืองเล็กน้อย แสบผิว ผิวหนังร้อนแดง เป็นตุ่มพอง และผิวไหม้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาติดตามอาการไม่พึงประสงค์ หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า อาการแพ้จากการใช้เครื่องสำอาง โดยส่งแบบรายงานการแพ้ให้แพทย์ที่พบผู้ป่วยที่มารับการรักษา เนื่องจากแพ้เครื่องสำอางแล้วรายงานมายัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่าอาการแพ้ที่เกิดจากเครื่องสำอางผสม AHAs และ BHAs คือ ระคายผิว แสบผิว มีเม็ดผื่นคัน ผิวหนังร้อนแดง และเกรียม  รายงานการแพ้ที่ได้รับเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากผู้ที่มีอาการแพ้บางราย อาจมิได้ไปพบแพทย์ หรือมิได้แจ้งให้แพทย์ทราบ หรือ แพทย์มิได้บันทึกลงในรายงาน
ข้อควรระวัง

      เครื่องสำอางทุกชนิดต้องมีฉลากภาษาไทยที่แสดงข้อความบังคับอย่างครบถ้วน (ชื่อ ชนิด ส่วน ประกอบสำคัญ ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ) การใช้เครื่องสำอางใดเป็นครั้งแรก ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ โดยทาผลิตภัณฑ์ในปริมาณ เล็กน้อย ลงบนบริเวณท้องแขน ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง ถ้าไม่มีความผิดปกติใดๆเกิดขึ้น แสดงว่าใช้ได้

       เนื่องจากประเทศไทยอากาศร้อน แสงแดดจัดจ้า ตามปกติควรหลีกเลี่ยงแสงแดดอยู่แล้ว และ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้เครื่องสำอางผสม AHAs และ BHAs ต้องหลีกเลี่ยง หรือ ป้องกันผิวจากแสงแดดเป็นพิเศษโดยการ

       -  ไม่ออกไปอยู่กลางแจ้งขณะแดดจัด
       -  สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดผิวมิดชิด หรือกางร่ม เมื่ออยู่กลางแจ้ง
       -  ใช้เครื่องสำอางผสมสารป้องกันแสงแดด ที่ระบุค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป

       หากใช้แล้วเกิดอาการระคายเคืองแสบผิว หรือผิวหนังร้อนแดงเป็นระยะเวลานาน ให้หยุดใช้และปรึกษาแพทย์  รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์นี้ในเด็กและเด็กทารกด้วย 
บรรณานุกรม

      1.

Share |