วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รับทำสไลด์ประกอบเพลง 1200 บาท ราคาถูกมากๆ ถูกที่ซู้ดแล้ว แก้ได้ 3 คร้ง ไม่รวมครั้งแรก

 รับทำภาพสไลด์ภาพประกอบเสียงเพลง
 สำหรับงานต่างๆ รับงานด่วนได้ครับ 
 ราคาเพียง 1200 บาท ถุกที่ซู๊ดแล้วคร้าบ!!!  

ตัวอย่าง





โทร. 081-5836458 เจ
webstie: ruammitshop.com

 วิธีทำงาน 
1. ให้ท่านทำการส่งภาพถ่ายที่ท่านได้คัดเลือกไว้ ถ้าจะให้ดีควรจะเป็นภาพ 4:3 ภาพแนวนอน เหมือนรูปถ่ายขนาด 4x6 หรือภาพดิจิตอลแนวนอนทั่วๆไปได้ครับ ขนาดไม่เกิน 5 ล้าน พิกเซล 
(ให้ทำการ Zip ไฟล์มาด้วยก็จะดีมากครับ)
2. เรียงลำดับภาพก่อนหลัง โดยการตั้งชื่อที่ภาพไล่เรียงตั้งแต่ภาพแรกไปภาพสุดท้าย เช่น 01,02,03,04,05,06,07,08,09....... ตั้งชื่อเรียงต่อๆกันไปตามนี้ อย่าเกิน 40 ภาพครับเพราะจะดูไม่ทัน
3. หาเพลง หรือจะให้เราหาก็ได้ แต่ถ้ามีให้ก็จะทำให้งานทำได้เร็วยิ้งขึ้น
4. ข้อความที่จะแสดงบนภาพสไลด์ หรือข้อความที่จะแสดงระหว่างภาพสไลด์ ให้เขียนระบุชื่อภาพนั้น และช่วงภาพนั้นด้วย เช่น อยากให้มีข้อความ "คิดถึงนะ" อยู่ก่อนรูป ที่ 02,08,25 เป็นต้น  หรือ ถ้าอยากให้มีข้อความบนภาพเช่น "เพื่อนไม่เคยทิ้งกัน" ให้คำนี้อยู่บนภาพที่  10,28 เ็ป็นต้น
* ให้ระบุแนบไฟล์ หรือพิมพ์ลงไปในกล่องข้อความส่งเมล์ได้เลย


 รอรับงานที่ได้สั่งทำ 
หลังจากเราได้ข้อมูลทั้งหมดครบแล้ว นำมาจัดทำตามกระบวนการจนเสร็จสิ้น แล้วนำส่งให้ตรวจผ่านทาง เว็บไซต์ ที่เราจะระบุลิ้งค์สำหรับดูภาพสไลด์ที่เราจัดทำให้ท่านตรวจสอบก่อน ซึ่งทางเราขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ 3 ครั้ง (แก้ได้ 3 ครั้ง ไม่รวมครั้งแรกที่ทำครับ) หากเกินขอครั้งละ 100 นะครับส่วนมากไม่มีใครเกินครับ
ไม่ต้องเป็นห่วง

 การตรวจสอบงาน 
ท่านจะต้องตรวจสอบงานผ่านทาง ลิ้งค์ 4Shared.com หรือ Dailymotion หรือลิ้งค์อื่นๆที่สามารถอัพโหลดภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้ท่านตรวจทานความถูกต้องได้ เมื่อตรวจเสร็จเราจะทำการลบลิ้งค์ไฟล์งานนั้นออกทันที

1200 บาทเท่านั้น!! ถูกกว่านี้ไม่มีอีกแล้วแว้วๆๆ  



 การส่งมอบงานมีอยู่ 2 ทาง 
1. เราจะทำการอัพโหลดไฟล์งานขึ้นบน Mediafire.com,4shared.com หรืออาจจะเป็นลิ้งค์โหลดที่สะดวก ซึ่ง เราจะกำหนดลิ้งค์ให้แล้วส่งผ่านทางอีเมล์แล้วให้ท่านทำการดาวโหลด ไฟล์งานนั้นลงบนเครื่องคอมของท่านเอง

2. เราจะแปลงไฟล์ใส่ CD หรือ DVD นำส่งท่านผ่านไปรษณีย์หลังจากท่านตรวจสอบงาน และต้องโอนเงินจำนวนทั้งหมดแล้วเท่านั้น(เพิ่มอีก 100 นะครับ)



โทรสอบถามรายละเอียดได้ตลอดเวลาครับ ไม่จำเป็นว่าโทรมาแล้วเราจะต้องทำกับเราครับ
ท่านลองคุยกับเราแล้วเปรียบเทียบหลายๆ ที่ครับว่าที่ใหนท่านทำแล้วคุ้มค่า แล้วมีความสุข
กับงานที่ท่านได้รับ อย่างนี้ถึงจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับเราเช่นกันครับ

ขอบคุณลูกค้าทุกๆท่านที่เราได้ให้โอกาสเรา
***ขออภัยลูกค้าทุกท่านเราไม่มีหน้าร้านนะครับ ทำงานผ่านเน็ตครับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

สาร SLS ( Sodium Lauryl Sulfate)ในสบู่เหลว

ขณะนี้ได้มีข่าวเกี่ยวกับสาร SLS ( Sodium Lauryl Sulfate) ว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้ต่างประเทศได้ยกเลิกการใช้สารประเภทนี้ไปแล้ว แต่ในประเทศไทยยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง โดยเฉพาะสบู่เหลว ซึ่งใช้กันทุกเพศทุกวัย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไม่ได้นิ่งนอนใจได้ทำการสืบค้นและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสารที่ใช้ในเครื่องสำอางมาโดยตลอด โดยเฉพาะกรณี ความปลอดภัยของสาร SLS ( Sodium Lauryl Sulfate) ในเครื่องสำอาง
สารโซเดียม ลอริล ซัลเฟต หรือที่นิยมเรียกในชื่อย่อว่า เอสแอลเอส (Sodium Lauryl Sulfate : SLS) เป็นสารที่มีคุณสมบัติลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้เกิดฟอง ช่วยให้สิ่งสกปรก คราบไขมันหลุดออกไปได้ง่ายขึ้น จึงเรียกง่ายๆ ว่าเป็นสารทำความสะอาด นิยมใช้ทั้งในวงการอุตสาหกรรมและเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาล้างจาน (โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้) เครื่องสำอางที่นิยมผสมสารนี้ ได้แก่ เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกด้วยน้ำ เช่น สบู่เหลว แชมพู ตลอดจนยาสีฟัน
และจากการศึกษาวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและในคน พบว่าอันตรายของสารนี้ คือ ระคายเคือง ต่อดวงตา และผิวหนัง โดยความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารนี้ในผลิตภัณฑ์ และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสร่างกาย ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจนสรุปว่าสาร SLS มีความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมะเร็งในคน ซึ่งข้อมูลความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมะเร็งจากสารกลุ่มนี้ อาจมาจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นสารก่อมะเร็ง คือ 1,4 Dioxane แต่ปัจจุบันในกระบวนการผลิตสารทำความสะอาด สามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนนี้ได้ด้วยการใช้ระบบสูญญากาศ (ซึ่งไม่เป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก) อีกทั้งได้มีการศึกษาพบว่า โอกาสที่จะพบ 1,4 Dioxane ในเครื่องสำอางสำเร็จรูปมีน้อย จึงไม่ควรกังวลว่าสาร SLS ในเครื่องสำอางจะก่อให้เกิดมะเร็ง
ทั้งนี้เครื่องสำอางที่ผสมสาร SLS อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้บ้าง เช่น แชมพูเข้าตาทำให้แสบตา หรือฟอกสบู่เหลวนานเกินไป อาจระคายเคืองผิว ทำให้ผิวแห้งได้ ขณะนี้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย มิได้ห้ามใช้สารนี้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง แต่หากผู้บริโภคต้องการหลีกเลี่ยงสาร SLS ในเครื่องสำอาง สามารถเลือกใช้เครื่องสำอางที่ฉลากระบุว่า “ Sodium Lauryl Sulfate Free” ได้
ขณะนี้มีสารทำความสะอาดอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กัน คือ Sodium Laureth sulfate (SLES) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่า SLS และยังไม่มีข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการเป็นสารก่อมะเร็ง
ดังนั้น ผู้บริโภคไม่ควรตื่นตระหนกกับเรื่องนี้จนเกินไป หากพบข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสาร หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ โดยเฉพาะข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงบวก หรือเชิงลบ จำเป็นต้องตรวจสอบแหล่งที่มา ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง ตลอดจนข้อเท็จจริงต่างๆ ให้กระจ่างชัด ก่อนที่จะดำเนินการหรือตัดสินใจใดๆ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

สารกันเสียในเครื่องสำอางค์




สารกันเสีย (Preservative)

      สารกันเสีย (Preservative) เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อยีสต์ เพื่อป้องกันมิให้เครื่องสำอางเสียง่าย เช่นการเติมในครีมทาผิวเพราะมีการแต่งกลิ่นและอาจใช้แป้งเป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดการบูดเสียได้ จึงต้องใส่สารกันเสียป้องกัน
      สารกันเสียที่ใช้สำหรับเครื่องสำอางมีหลายชนิด เช่น Bronopol (2-bromo-2-nitropropane-1,3-diol หรือ BNPD) ฟอร์มาดีไฮด์ (formaldehyde) อิมิดาโซลิดินิลยูเรีย (imidazolidinyl urea) เมทิลคลอโรไอโซไทอะโซลิโนน (methylisothiazolinone) และ ฟีโนซีเอทานอล  (phenoxyethanol) EDTA (ethylene diamine tetreacetic acid) และสารกลุ่มพาราเบน (paraben) ได้แก่ เมทิลพาราเบน (methyl paraben) เอทิลพาราเบน (ethyl paraben) โพรพิลพาราเบน (propyl paraben) และ บิวทิลพาราเบน (butyl paraben)

สารกลุ่มพาราเบน

      พาราเบนที่นิยมใช้มี 3 ชนิด ได้แก่ เมทิลพาราเบน เอทิลพาราเบน และ โพรพิลพาราเบน ซึ่งมีชื่อสารเคมี ชื่อพ้อง สูตรโครงสร้างทางเคมี ดังนี้

ชื่อสารเคมี ชื่อพ้อง สูตรโครงสร้างทางเคมี
..........
ชื่อสารเคมี
เมทิลพาราเบน
เอทิลพาราเบน
โพรพิลพาราเบน
ชื่อพ้อง
Methylparahydroxy
benzoate
4-hydroxybenzoic acid methyl ester
Ethylparahydroxy
benzoate
4-hydroxybenzoic acid ethyl ester
Propylparahydroxy
benzoate
4-hydroxybenzoic acid propyl ester
สูตรโมเลกุล
C 8 H 8 O 3
C 9 H 10 O 3
C 10 H 12 O 3
สูตรโครงสร้างทางเคม


ลักษณะภายนอก
ผงผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ผงผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ผงผลึก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
น้ำหนักโมเลกุล
152.14
166.17
180.2
จุดหลอมเหลว ( องศาเซลเซียส )
131
116

จุดเดือด ( องศาเซลเซียส )
270-280
297-298
96.2 - 98
การละลาย
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ อะซีโตน อีเทอร์
ละลายได้น้อยในน้ำ (1 ส่วนในน้ำ 400 ส่วน หรือ 0.30% w/w ที่ 25 ? C)
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ อะซีโตน อีเทอร์
ละลายได้น้อยในน้ำ (0.075% w/w ที่ 25 ? C)
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ อะซีโตน อีเทอร์
ละลายได้น้อยในน้ำ (1 ส่วนในน้ำ 2000 ส่วน )

กลไกการออกฤทธิ์

พาราเบนเป็นสารเอสเทอร์ของกรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก (para-hydroxybenzoic acid)
ออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพแบบการยับยั้งเซลล์ (cytostatic activity) มากกว่าฆ่าเซลล์ (cytocidal activity)  เมื่อใช้เดี่ยวๆ ออกฤทธิ์ต้านเชื้อราได้ดีมาก แต่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้จำกัด และเมื่อใช้ร่วมกัน เช่น เมทิลพาราเบนร่วมกับโพรพิลพาราเบน จะออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดีขึ้น โดยออกฤทธิ์ต่อเชื้อแกรมบวกดีกว่าแกรมลบ ฤทธิ์การต้านเชื้อจะมีประสิทธิภาพดีที่ความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 3-8 ที่ความเป็นด่างมากกว่า 8 สารกลุ่มนี้ถูกไฮโดรไลซีสและหมดประสิทธิภาพการเป็นสารกันเสีย
เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านจุลชีพจากมากไปน้อยเป็นดังนี้ โพรพิลพาราเบน > เอทิลพาราเบน > เมทิลพาราเบน โดยจากสูตรโครงสร้างโพรพิลพาราเบนมีสายคาร์บอนที่ยาวที่สุด จึงแพร่เข้าเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อจุลชีพได้ดีกว่า จึงออกฤทธิ์ดีกว่าพาราเบนอื่นๆ
ประโยชน์

สารกลุ่มพาราเบน เป็นสารกันเสียที่ราคาไม่แพงและที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขเมื่อใส่ในปริมาณที่กำหนด นิยมใช้กับเครื่องสำอางประเภท แชมพู ครีมนวดผม ครีมบำรุงผิวหน้า ครีมทำความสะอาด ครีมสำหรับเล็บ น้ำยาดัดผมถาวร และ ยาสีฟัน
ปริมาณพาราเบนที่กำหนดไว้ได้แก่

1. เมทิลพาราเบน (methyl paraben) ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนัก
2. โพรพิลพาราเบน (propyl paraben) ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนัก
3. เมทิลพาราเบน รวมกับโพรพิลพาราเบน ใส่ได้ไม่เกินร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนัก
อาการแสดงและการวินิจฉัย

กลุ่มศึกษาอาการผืนสัมผัสของอเมริกาเหนือ (North American Contact Dermatitis group) รายงานผลการศึกษาสารในเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ว่า สารกันเสียเป็นสารที่ทำให้ผู้ใช้เกิดการแพ้ ผื่นแพ้และระคายเคือง (allergy irritation) เป็นอันดับที่สองรองจากน้ำหอมหรือสารแต่งกลิ่นหอม (fragrances) ซึ่งสารกันเสียที่พบการแพ้ได้บ่อยได้แก่ พาราเบน ฟอร์มาลดีไฮด์ อิมิดาโซลิดินิลยูเรีย เมทิลคลอโรไอโซไทอะโซลิโนน และ ฟีโนซีเอทานอล
ผื่นจากเครื่องสำอาง อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis) ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis) ผื่นลมพิษสัมผัส (Contact urticaria) และสิวจากเครื่องสำอาง (Acne cosmetica) ที่พบบ่อยคือ ผื่นแพ้สัมผัสและผื่นระคายสัมผัส
การวินิจฉัย แพทย์ผิวหนังจะให้การวินิจฉัยว่าเป็นการระคายเคืองหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการทดสอบภูมิแพ้ โดยการปิดบนผิวหนัง (patch test) แล้วดูว่าเป็นการแพ้หรือไม่เสียก่อน เนื่องจากยังไม่มีการทดสอบการระคายเคืองทางตรง
ข้อควรระวัง

สารกลุ่มพาราเบน เป็นสารที่ค่อนข้างปลอดภัย และไม่พบการก่อให้เกิดพิษอันตราย อย่างไรก็ตามวารสารทางวิทยาศาสตร์รายงานผลการศึกษาในสัตว์ทดลองว่า เมื่อให้พาราเบนแก่หนูด้วยการรับประทาน พาราเบนจะออกฤทธิ์เลียนแบบ (mimic) ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง โดยกลไกการออกฤทธิ์พบว่าพาราเบนจะถูกเมแทบอไลส์ด้วยปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสโดยเอนไซม์เอสเทอร์เรส (esterase enzyme) ทำให้สูญเสียหมู่เอสเทอร์ ได้สารเมแทบอไลส์คือ กรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก ที่สามารถจับกับ estrogen receptor ในร่างกาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานว่าพาราเบนก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมในสตรี และมีบางการศึกษารายงานว่าการใช้เครื่องสำอางประเภทที่ใช้บริเวณผิวหนัง เช่น สเปรย์ฉีดร่างกาย หรือยาระงับกลิ่นกายที่มีพาราเบน พบว่าพาราเบนดูดซึมผ่านผิวหนังต่ำมาก และถูกเมแทบอไลส์ด้วยเซลล์ที่ผิวหนังได้สารที่ไม่มีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน
แม้ว่ายังมีรายงานที่ขัดแย้งกัน การใช้เครื่องสำอางที่มีพาราเบน ควรใช้อย่างระมัดระวัง เมื่อผู้ใช้เกิดผื่นแพ้ ควรหยุดการใช้เครื่องสำอางนั้นๆ ทันที และสังเกตว่าผื่นค่อยๆ หายไปหรือไม่ 

การเก็บรักษา

เอกสารอ้างอิง

พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535

      Journal of Applied Toxicology vol 24, p. 5 available on http://www.organicconsumers.org./Journalreference
      อารทรา ปัญญาปฏิภาณ ฟอร์มาลดีไฮด์ในเครื่องสำอางข่าวสารด้านยาและสุขภาพ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 หน้า 14-18
      U. S. Food and Drug Administration FDA Consumer November 1991; revised May 1995
http://www.cfsan.fda.gov/~dms/cos-safe.html
      M.G. Soni, I.G. Carabin and G.A. Burdock  Safety assessment of esters of p-hydroxybenzoic acid (parabens)  Food and Chemical Toxicology, Volume 43, Issue 7, July 2005, Pages 985-1015
      K. Morohoshi, H. Yamamoto, R. Kamata, F. Shiraishi, T. Koda and M. Morita Estrogenic activity of 37 components of commercial sunscreen lotions evaluated by in vitro assays.
Toxicology in Vitro, Volume 19, Issue 4, June 2005, Pages 457-469
      นพ.ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์ ผื่นจากเครื่องสำอาง http://www.thaicosderm.org/public-info/cosmetic.htm
Share |